พอดีวันนี้ได้ไปที่ อ.กะทู้จังหวัดภูเก็ตมา ก็ได้ทราบข่าวว่า เขามีการจัดทำ พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ขึ้น
แต่พอจะเดินทางไป ก็ไปไม่ถูกครับ ก็เลยไม่ได้ใส่ใจอะไรมากนะ
แต่มานั่งเล่นเน็ตอยู่ตั้งนาน แล้วก็ได้มาเจอะข่าว จาก Manager online ซึ่งเค้าทำ scoop เกี่ยวกับ สถานที่นี้เช่นกัน เรามาดูข่าวนี้กันดีกว่าครับ
ปล.ต้องขอขอบคุณ Manager online ไว้ ณ โอกาศนี้ด้วยนะครับ
มหา’ลัยชีวิต พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่(ภูเก็ต)
![]() |
...ภูเก็ตเป็นเมืองที่เติบโตมาจากการทำเหมืองแร่ดีบุก ซึ่งต้องใช้ดีบุกเคลือบโลหะกันสนิม และผสมทองแดงเป็นสำริดมากว่า 500 ปี จึงทำให้ชาวยุโรป(โปรตุเกส ฮอลันดา ฝรั่งเศสและอังกฤษ) และชาวจีนฮกเกี้ยน(ทั้งที่ผ่านมาจากสิงคโปร์และปีนังหรือมาจากจีนโดยตรง )หลั่งไหลเข้ามาทำเหมืองและตั้งหลักแหล่งในภูเก็ต มีวัฒนธรรมผสมผสานไทย ยุโรปและจีน ทำให้มีอัตลักษณ์เฉพาะถิ่น อาทิ สถาปัตยกรรมชิโนโปรตุกีส อาหารพื้นเมือง ภาษา การบูชาเทพเจ้า การแต่งกาย การแต่งงาน รวมไปถึงน้ำทะเลใสสีคราม หาดทรายสะอาดและแดดเมืองร้อน จนกลายเป็นมนต์เสน่ห์ ไข่มุกแห่งอันดามันเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงก้องโลก... | ||||
มาวันนี้แม้ภูเก็ตจะเปลี่ยนผ่านจากยุคเหมืองแร่เข้าสู่เมืองท่อง เที่ยว แต่ประวัติศาสตร์แห่งความเป็นเมืองเหมืองยังไม่ตายและยังอยู่ในความทรงจำของ ใครหลายๆคน เป็นประวัติศาสตร์อันทรงคุณค่าให้อนุชนคนรุ่นหลังได้เรียนรู้ศึกษาในราก เหง้าของตัวเอง ด้วยเหตุนี้จึงมีผู้เห็นความสำคัญ โดยนายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล อดีตนายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ในสมัยที่ดำรงตำแหน่ง ได้เสนอให้มีการจัดตั้ง“พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่”ขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนหลังเหตุการณ์สึนามิ ทางจังหวัดภูเก็ตได้มอบหมายให้เทศบาลตำบลกะทู้ ดำเนินการจัดสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ ในปี พ.ศ. 2549 บนพื้นที่เหมืองแร่ดีบุกเดิม (เลิกทำเหมืองเมื่อ พ.ศ. 2500) บริเวณเหมืองท่อสูง ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต | ||||
อาคารหลังนี้สร้างในสไตล์ชิโน-โปรตุกีส ซึ่ง ผศ.สมหมาย ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมของภูเก็ตและเป็นผู้นำชมพิพิธภัณฑ์ในครั้งนี้ กล่าวว่า คนภูเก็ตเรียกอาคารลักษณะนี้ว่า “อังมอเหลา” ที่หมายถึง บ้านเรือนแบบฝรั่งของบรรดาเศรษฐีหรือนายเหมืองในอดีต | ||||
ภายนอก มีพันธุ์ไม้พื้นเมืองหลายชนิดให้ชม อาทิ ราชินีเหลือง หม้อข้าวหม้อแกงลิง เฟินสามร้อยยอด ผักหวาน และยังหลงเหลือร่องรอยของการทำเหมืองเก่าไว้ให้ชมบ้าง ซึ่งในอนาคตจะทำเป็นเหมืองแร่จำลอง มีเรือ ขุด รางแร่ ฯลฯ มาจัดแสดงให้ชม ภายใน แบ่งเป็นส่วนต่างๆ มีส่วนจัดแสดงที่สำคัญๆคือ โปท้องหง่อก่ากี่ แสดงภาพ(วาด)ลักษณะเด่นของอาคารชิโน-โปรตุกีส เช่น หัวเสากรีก-โรมัน ลวดลายประตู หน้าต่าง มีรถสองแถวสร้างด้วยไม้หรือ “โปท้อง” ตั้งไว้โดดเด่นกลางห้อง โดย ผศ.สมหมาย ให้ข้อมูลว่า ภูเก็ตเป็นหัวเมืองที่มีรถยนต์เป็นอันดับแรกของเมืองไทย และเป็นเมืองที่มีรถยนต์เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทยรองจากกรุงเทพฯ | ||||
เป็นส่วนรับแขกของคนจีนผู้มีอันจะกิน ตกแต่งอย่างหรูหรา มีโต๊ะมุกเป็นที่นั่งรับน้ำชาจากเจ้าของบ้าน มีฉากลวดลายต้นและดอกโบตั๋นอันสวยงามประดับ อัญมณีนายหัวเหมือง จัดแสดงวัตถุโบราณของสะสมสิ่งละอันพันละน้อย อาทิ แสตมป์ดวงแรกของไทย เงินโบราณ จากเงิน(หอย)เบี้ย เงินพดด้วง เงินปึก มาถึงเหรียญ ธนบัตร ซากฟอสซิล หินโบราณ งาช้างตราประทับ"มณฑลภูเก็จ" ซึ่ง ผศ.สมหมาย บอกว่านี่คือ 1 ใน หลักฐานสำคัญที่บ่งชี้ว่าในอดีตชื่อของภูเก็ตน่าจะใช้“ภูเก็จ”ที่หมายถึง ภูเขาแก้ว นอกจากนี้ยังมีวัตถุ สิ่งของ ข้าวของสะสมของนายหัวเหมืองอีกมากมาย ที่ล้วนต่างมามีต้นกำเนิดมาจากห้องถัดไป | ||||
สายแร่แห่งชีวิต คือห้องสำคัญ จัดแสดงการทำเหมืองแร่ในรูปแบบต่างๆ ประกอบด้วย เหมืองแล่น เหมืองรู(เหมืองปล่อง) เหมืองหาบ เหมืองฉีด เหมืองสูบ เหมืองเรือขุดแล้ว โดยพื้นที่ให้อาสาสมัครลงไปทดลองร่อนแร่ของจริงชนิดเปียกจริงได้ผงแร่ออกมา จริงๆให้จับต้องกัน จัดแสดงกระบวนการในการผลิตแร่ตั้งแต่ยุคแรกที่ใช้แรงงานคน มาจนถึงยุคการใช้เครื่องจักร โดยมี "ลูกเชอ" เป็นภาชนะตักแร่ที่สำคัญ | ||||
| ||||
และนั่นก็เป็นส่วนใหญ่ของการจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ อีกหนึ่งแหล่งรวมเรียนรู้ทางประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมที่สำคัญ ดุจดังแหล่งเรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีองค์ความรู้อันหลากหลายให้ค้นหา ซึ่งไม่เฉพาะแค่ชาวภูเก็ตเท่านั่นแต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำคัญของชาวไทยอีก ด้วย | ||||
***************************************** พิพิธภัณฑ์ เหมืองแร่ ตั้งอยู่ที่ หมู่ 5 ถนนสายกะทู้-นาเกาะ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต เดิมเปิดให้เข้าชมฟรี แต่ปัจจุบันจำเป็นต้องเก็บค่าเข้าชมเพื่อมาบำรุงพิพิธภัณฑ์ดังนี้ ผู้ใหญ่ 50 บาท นักศึกษา 20 บาท เด็ก 10 บาทคนพิการชมฟรี พิพิธภัณฑ์เหมืองแร่ เปิดวันเวลาราชการ 8.30-16.30 น. โทร. 081-535-3187, 083-1025-606 |
ภูมิปัญญาของคนรุ่นก่อนพูดได้คำเดียวครับ สุดยอด....(ใบอ่อนจะดีกว่า)
ขอบคุณครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น